วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของทีม/รายชื่อนักเตะ/ตำแหน่ง/หมายเลข/โปรแกรม


ชื่อเต็ม : Manchester United Football Club 
ฉายา : The Red Davils ( ปิศาจแดง )
ก่อตั้ง : ค.ศ. 1878
สนาม : โอลด์แทรฟฟอร์ด ( ความจุ 76,212 คน )
ที่ตั้ง : เมืองแมนเชสเตอร์
เจ้าของสโมสร : มัลคอล์ม เกลเซอร์
ประธานสโมสร : มาร์ติน เอ็ดเวิดส์
ผู้จัดการทีม : เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

ประวัติสโมสร

สโมสรในช่วงแรก (1878-1945)
สโมสรในช่วงแรก (1878-1945) สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก่อตั้งโดยกลุ่มพนักงานกรรมกรในเหมืองแร่ถ่านหินในเมืองแมนเชสเตอร์ โดยในตอนแรกนั้นเป็นเพียงแค่สโมสรชั้นต่ำที่ทำการแข่งขันกันระหว่างคนงานด้วยกัน ต่อมามีพนักงานคนหนึ่งชื่อ J.C. Kuya เป็นคนผิวดำ มีเชื้อชาติแอฟริกัน ได้ออกมาประกาศว่าสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจะก้าวไปเป็น 1 ในสโมสรที่ดีที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจากคำพูดนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างมากภายในกลุ่มคนงานด้วยกัน เนื่องจาก Kuya นั้น เป็นเพียงแค่ตัวสำรองในทีมซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับกล้าออกความเห็นในที่สาธารณะ ซึ่งควรจะเป็นสิทธิของคนที่เป็นกัปตันทีม ซึ่งในขณะนั้น คือ Donny Dever ชาวอังกฤษโดยกำเนิด มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบเมืองลิเวอร์พูล แต่เนื่องจากตกงานเป็นเวลานานจึงระหกระเหเร่ร่อนออกมาเป็นคนงานเหมืองแร่ในแถบเมืองแมนเชสเตอร์ ความขัดแย้งในครั้งนี้รุนแรงมากถึงขนาดมีการแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนขาว นำโดย Dever และกลุ่มคนดำ นำโดย Kuya ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สโมสรเลยทีเดียว โดยมีผู้เสียชีวิตมากเกือบร้อยคน แต่เรื่องนี้กลับถูกปิดเป็นความลับที่มีน้อยคนนักที่ได้รู้ ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969) แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกใน


ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969)
แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกในปี 1947 และชนะเลิศเอฟเอ คัพในปีต่อมา
บัสบี้เป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย
ในปี 1958 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของสโมสร เมื่อเครื่องบินที่บรรทุกนักเตะและทีมงานของสโมสร ที่กลับจากการไปแข่งขันยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับทีมเรดสตาร์ เบลเกรด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศแล้วได้ประสบอุบัติเหตุที่สนามบินในเมืองมิวนิค หลังจากแวะพักเครื่องบินที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้คร่าชีวิตนักเตะของทีมไปถึง 8 คน รวมถึงทีมงานสต๊าฟโค้ชและผู้โดยสารคนอื่นอีก 15 คน รวมเป็น 23 คน หนึ่งในคนที่เสียชีวิตในครั้งนี้ คือ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด นักเตะดาวรุ่งพรสวรรค์สูงสุดในขณะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้คาดว่าจะเป็นจุดตกต่ำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จิมมี เมอร์ฟีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงที่บัสบี้กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ และใช้ตัวผู้เล่นแก้ขัดไปหลายตำแหน่ง แต่ทีมก็ยังสามารถเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพได้อีกครั้ง โดยครั้งนี้พ่ายต่อโบลตันทำให้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น
หลังจากรักษาตัวเองแล้ว บัสบี้ได้ปรับปรุงทีมในช่วงต้นของทศวรรษ 60 โดยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะอย่าง เดนิส ลอว์ กับ แพท ครีแลนด์มาเสริมทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็ชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพในปี 1963 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกในปี 1965 และ 1967 นอกจากนี้ ยังได้แชมป์ฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพเป็นสโมสรแรกของอังกฤษในปี 1968 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้นหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่มิวนิค ที่ทำให้ทีมต้องสูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปถึง 8 คน และจากความยอดเยี่ยมของทีมชุดนี้ ทำให้มีนักเตะ 3 คนด้วยกัน ที่สามารถคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของยุโรป (บัลลงดอร์) ได้แก่เดนิส ลอว์ ได้รับรางวัลในปี 1964 คนที่สองคือบ๊อบบี้ ชาร์ลตันได้รับในปี 1966 หลังจากพาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวของพวกเค้า และจอร์จ เบสต์ได้รับรางวัลในปี 1968 หลังจากโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรเปียน คัพเป็นครั้งแรกของสโมสรและครั้งแรกของอังกฤษ
บัสบี้ได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในปี 1969 โดยมีวิฟ แมคกินเนสโค้ชทีมสำรองทำหน้าที่แทน


1969-1986
สโมสรได้พยายามหาตัวแทนที่เหมาะสมของบัสบี โดยใช้ผู้จัดการทีมไปหลายคน ได้แก่ วิฟ แมคกิวเนส, แฟรงค์ โอนีล ก่อนที่ ทอมมี โดเคอร์ตี้เข้ามาคุมทีมในปี 1972 เขาได้ช่วยทีมให้รอดจากการตกชั้น แต่อย่างไรก็ดี ทีมก็ได้ตกชั้นลงไปในปี 1974 แต่สโมสรก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในปีถัดไป และยังได้เข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพในปีต่อมาอีกด้วย จากนั้นก็ได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี 1977 โดยครั้งนี้สามารถคว้าแชมป์ได้โดยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล เป็นการดับความหวังการคว้าสามแชมป์ในปีเดียวกันของหงส์แดงลงไป ถึงเขาจะทำหน้าที่ได้ดี แต่ก็ถูกไล่ออกหลังจากรอบชิงชนะเลิศปีนั้นเนื่องจากมีข่าวพัวพันกับภรรยาของนักกายภาพบำบัด
เดฟ เซกซ์ตันได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมต่อในฤดูกาล 1977-1978 และเปลี่ยนระบบการเล่นของทีมให้เน้นเกมรับมากขึ้น ระบบนี้ทำให้แฟนบอลไม่ค่อยพอใจมากนัก หลังจากทำทีมไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกไล่ออกในปี 1981
รอน แอคคินสันได้เข้ามาทำหนาที่นี้แทน เมื่อเขาเข้ามาก็ได้ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดของอังกฤษโดยการคว้าตัวไบรอัน ร็อบสัน มาจากเวสต์บรอมวิช รวมถึง การคว้าตัว เจสเปอร์ โอลเซน และกอร์ดอน สตรัคคั่น ในขณะที่มีนักเตะอย่างมาร์ค ฮิวจส์ และนอร์แมน ไวท์ไซด์ที่ขึ้นมาจากทีมเยาวชนของสโมสร แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอ คัพในปี 1983
ปี 1985 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีในช่วงเปิดฤดูกาลโดยการชนะ 10 นัดรวด ทำให้มีคะแนนนำทีมอื่นถึง 10 คะแนนตั้งแต่ต้นฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดีและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 ของลีก ผลงานในปีต่อมาก็ไม่ได้ดีขึ้น ทีมต้องหนีการตกชั้น ทำให้รอน แอคคินสันถูกไล่ออกไป


ยุคของ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (1986-ปัจจุบัน)
อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เข้ามาคุมทีมต่อ โดยในฤดูกาลแรกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 แต่ในปีต่อมาก็ได้อันดับสองโดยไบรอัน แมคแคลร์ทำประตูได้ถึง 21 ประตู เป็นคนแรกของทีมหลังจากที่จอร์จ เบสต์เคยทำได้มาก่อนหน้านี้
ในปี 1989 เฟอร์กูสันเกิดความยากลำบากในการคุมทีมขึ้น เนื่องจากตัวผู้เล่นหลายตัวที่เขานำเข้ามาในทีมไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอล มีข่าวออกมาว่าสโมสรจะปลดเฟอร์กี้ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงต้นปี 1990 แต่การชนะนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ในรอบสาม ของเอฟเอ คัพ ก็ทำให้เขาสามารถคุมทีมต่อไปได้ จนคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้ในปีนั้น เป็นแชมป์แรกให้กับเขาในการคุมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1990-91 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์คัพ วินเนอร์ส คัพ โดยการเอาชนะบาร์เซโลนา จากสเปน ในนัดชิงชนะเลิศ แต่ปีต่อมาทีมทำผลงานไม่ดีนักในพรีเมียร์ลีก
สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนเมื่อปี 1991 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 18 ล้านปอนด์ จากนั้น สโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินทั้งหมดสู่สาธารณะ
เอริค คันโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมาร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี้ ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม
ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แมทธิว ซิมมอนส์ แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้นทีมก็สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่สองซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับเบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่
สโมสรคว้าแชมป์ลีกอีกครั้งในปี 1997 จากนั้น เอริค คันโตนาได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลด้วยวัยเพียง 30 ปีซึ่งเร็วกว่านักเตะคนอื่นๆ มาก ฤดูกาลทีมยังเริ่มต้นการแข่งขันได้ดี แต่มีปัญหาอาการบาดเจ็บรบกวนมามากจนทำให้จบฤดูกาลได้เพียงอันดับสองเท่านั้น
ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟา แชมเปี้ยนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์น มิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อจากเท็ดดี้ เชอริงแฮม และ "เพชรฆาตหน้าทารก" โอเล่ กุนนาร์ โซลชา
จากการคว้าสามแชมป์ ทำให้อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบถที่ 2 เป็นท่านเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อตอบแทนผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ได้รับตำแหน่งท่านเซอร์คนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยผู้ที่ได้รับคนแรกคือ เซอร์แมตต์ บัสบี้ คนที่สองคือ เซอร์บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 2 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าชาวดัตช์ รุด ฟาน นิสเตลรอย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์
แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2001-2006 ยูไนเต็ดได้ประสบปัญหาหลายอย่าง อย่างแรกคือสโมสรไม่สามารถหาผู้รักษาประตูที่เป็นตัวตายตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล ได้ สโมสรได้เปลี่ยนผู้รักษาประตูมือ 1 หลายคน ไม่ว่าจะเป็นมาร์ค บอสนิช, ไรมอนด์ ฟาน เดอ ฮาว, มัสซิโม่ ตาอิบี้, พอล ราชุบก้า, แอนดี้ กอแร่ม, ฟาเบียง บาร์กเตซ, ทิม โฮเวิร์ด, รอย คาโรล, และ ริคาร์โด้ โลเปซ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักจำนวนมากได้ออกจากสโมสรไม่ว่าจะเป็นยาป สตัม, เดวิด เบ็คแฮม, รอย คีน กัปตันทีม, หรือแม้กระทั่งรุด ฟาน นิสเตลรอย โดยมีสาเหตุมาจากการมีปัญหากับเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้งสิ้น ในช่วง 5 ปีนี้ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกเพียงครั้งเดียว (ฤดูกาล 2002-2003) และได้ถ้วยรางวัลอื่นๆ อีก 2 รายการ คือ เอฟเอคัพ (2003-2004) และ ลีกคัพ (2005-2006) เท่านั้น โดยใน 2 ฤดูกาลหลัง เชลซีได้เข้ามามีบทบาทเด่นในฟุตบอลลีกเนื่องมาจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสรของ โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้เชลซีมีงบประมาณซื้อตัวผู้เล่นไม่จำกัดและคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกัน
ต่อมาในปี 2006-2008 อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผ่าตัดทีมใหม่อีกครั้ง โดยมีแกรี่ เนวิลล์ เป็นกัปตันทีมคนใหม่ที่รับตำแหน่งกัปตันแทน รอย คีน 11 ผู้เล่นของยูไนเต็ดมีความลงตัวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ผู้เล่นที่โดดเด่นมี เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์ที่เป็นตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล และกองหลังมีเนมานย่า วิดิช ผู้เล่นยอดเยี่ยมของเซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกร และริโอ เฟอร์ดินานด์กองหลังค่าตัว 30 ล้านปอนด์เป็นแกนกลาง, ปีกซ้ายขวามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ปีกดาวรุ่งโปรตุเกสที่สืบทอดเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากเดวิด เบ็คแฮม และนานี่ ปีกดาวรุ่งผู้เป็นตัวแทนของไรอัน กิ๊กส์ และกองหน้ามี เวย์น รูนี่ย์ ดาวยิงประตูที่มีค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์เป็นกำลังหลัก อเล็กซ์เฟอร์กูสันได้กล่าวว่าทีมชุดนี้เป็นชุดที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชุดปี 1999, ซึ่งทีมชุดนี้สามารถนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไล่ล่าความสำเร็จอีกครั้ง โดยการคว้าแชมป์ลีก 3 ปีติดต่อกันในปี 2006-2009 และการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2007-2008


การเทคโอเวอร์ของมัลคอล์ม เกลเซอร์
ในวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (2005) มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกาสามารถครอบครองในสโมสรเกินร้อยละ 70 หลังจากบรรลุข้อตกลงซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเจ. พี. แมกมานัส และจอห์น แมกเนียร์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ร้อยละ 28.7 จาก และแฮร์รี่ ดอบสัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสามชาวสกอต ในวันที่ 16 พฤษภาคม เกลเซอร์ครอบครองหุ้นเกินร้อยละ 75 ซึ่งทำให้เขาสามารถนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกนำออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในวันที่ 22 มิถุนายน เกลเซอร์สามารถครอบครองหุ้นร้อยละ 98 เป็นผลสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งเกินระดับที่กำหนดให้บังคับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ มัลคอล์ม เกลเซอร์แต่งตั้งลูกชายสามคนของเขาเข้าในคณะกรรมการบริหาร ผู้สนับสนุนจำนวนมากไม่พอใจการเข้าครอบครองกิจการของเกลเซอร์


รายชื่อนักเตะแมนยู 2012/2013

รายชื่อนักเตะแมนยู 2012/2013 พรีเมียร์ลีก Squad Manchester United 2012-2013 Premier League





 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์ลีกสูงสุด 19 สมัย กำลังตามล่าหาแชมป์สมัยที่ 20 ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2012/2013 โดยฤดูกาลใหม่นี้ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ยังใช้รายชื่อนักเตะเป็นผู้เล่นชุดเดิมจากฤดูกาลที่แล้วเป็นหลัก และได้นักเตะใหม่มาคือ ชินจิ คากาวะนิค พาวเวลล์อังเกโล่ เอ็นริเกซ และโรบิน ฟาน เพอร์ซี่ ส่วนนักเตะที่ต้องย้ายไปคือ ปาร์ค จี-ซอง, ดิมิทาร์ เบอร์บาตอฟ และนักเตะที่ปล่อยให้ทีมอื่นยืมคือ ฟาบิโอ ดา ซิลวา และ เบน อามอส



หมายเลข    ชื่อนักเตะ               สัญชาติ           ตำแหน่ง            วันเกิด    
1              ดาวิด เด เคอา          สเปน              ผู้รักษาประตู     7/11/1990
2             ราฟาเอล ดา ซิลวา    บราซิล            กองหลัง           9/7/1990    
3              ปาทริช เอวร่า          ฝรั่งเศส            กองหลัง         15/5/1981    
4              ฟิล โจนส์                อังกฤษ            กองหลัง         21/2/1992    
5              ริโอ เฟอร์ดินานด์      อังกฤษ            กองหลัง        7/11/1978    
6              จอนนี่ อีแวนส์          ไอร์แลนด์เหนือ  กองหลัง       2/1/1988    
7              อันโตนิโอ วาเลนเซีย เอกวาดอร์        มิดฟิลด์        4/8/1985    
8              อันแดร์สัน                บราซิล            มิดฟิลด์         13/4/1988    
10            เวย์น รูนี่ย์                อังกฤษ            ศูนย์หน้า       24/10/1985    
11            ไรอัน กิ๊กส์               เวลล์               มิดฟิลด์          29/11/1973    
12            คริส สมอลลิ่ง           อังกฤษ            กองหลัง       22/11/1989    
13            อันเดอร์ส ลินเดการ์ด เดนมาร์ค         ผู้รักษาประตู   13/4/1984    
14            ฮาเวียร์ เอร์นานเดช   เม็กซิโก          ศูนย์หน้า        1/6/1988    
15            เนมานย่า วิดิช          เซอร์เบีย         กองหลัง         21/10/1981    
16            ไมเคิ่ล คาร์ริค           อังกฤษ           มิดฟิลด์          28/7/1981    
17            นานี่                        โปรตุเกส          มิดฟิลด์         17/11/1986    
18            แอชลี่ย์ ยัง              อังกฤษ            มิดฟิลด์       9/7/1985    
19            แดนนี่ เวลเบ็ค          อังกฤษ           ศูนย์หน้า      26/11/1990    
20            โรบิน ฟาน เพอร์ซี่     ฮอลแลนด์       ศูนย์หน้า       6/8/1983
22            พอล สโคลส์            อังกฤษ           มิดฟิลด์       16/11/1974    
23            ทอม เคลฟเวอร์ลี่ย์    อังกฤษ           มิดฟิลด์       12/8/1989    
24            ดาร์เรน เฟล็ทเชอร์    สก็อตแลนด์     มิดฟิลด์       1/2/1984    
25            นิค พาวเวลล์            อังกฤษ           มิดฟิลด์       23/3/1994    
26            ชินจิ คากาวะ            ญี่ปุ่น              มิดฟิลด์       17/3/1989    
27            เฟเดริโก้ มาเคด้า      อิตาลี              ศูนย์หน้า      22/8/1991
28      อเล็กซานเดอร์ บุตต์เนอร์   ฮอลแลนด์        กองหลัง      11/2/1989
31            สก็อตต์ วูตตัน          อังกฤษ            กองหลัง      12/9/1991
33            เบเบ้                      โปรตุเกส          ศูนย์หน้า     12/7/1990
35            เจสซี่ ลินการ์ด          อังกฤษ           มิดฟิลด์       15/12/1992
36            มาร์นิค เวอร์มิล         เบลเยี่ยม         กองหลัง      13/1/1992
37            ร็อบบี้ บราดี้             ไอร์แลนด์         มิดฟิลด์      14/1/1992
38            ไมเคิล คีน               ไอร์แลนด์        กองหลัง      11/1/1993
40            เบน อามอส             อังกฤษ           ผู้รักษาประตู 10/4/1990     
46            ไรอัน ตันนิคลิฟฟี่      อังกฤษ            มิดฟิลด์      30/12/1992
50            แซม จอห์นสโตน       อังกฤษ       ผู้รักษาประตู    25/3/1993



โปรแกรมผลแข่งขัน ทีมแมนยู ฤดูกาล 2012-2013 พรีเมียร์ลีก Fixtures Manchester United Premier League Season 2012-2013


20/08/2012 นัดที่ 1 เอฟเวอร์ตัน 1-0 แมนยู แข่งขันเวลา 02.00น.
25/08/2012 นัดที่ 2 แมนยู 3-2 ฟูแล่ม แข่งขันเวลา 21.00น.
02/09/2012 นัดที่ 3 เซาแธมป์ตัน 2-3 แมนยู แข่งขันเวลา 22.00น.
15/09/2012 นัดที่ 4 แมนยู 4-0 วีแกน แข่งขันเวลา 21.00น.
23/09/2012 นัดที่ 5 ลิเวอร์พูล 1-2 แมนยู แข่งขันเวลา 19.30น.
29/09/2012 นัดที่ 6 แมนยู 2-3 สเปอร์ส แข่งขันเวลา 23.30น.
07/10/2012 นัดที่ 7 นิวคาสเซิ่ล 0-3 แมนยู แข่งขันเวลา 22.00น.
20/10/2012 นัดที่ 8 แมนยู 4-2 สโต๊ค ซิตี้ แข่งขันเวลา 21.00น.
28/10/2012 นัดที่ 9 เชลซี 2-3 แมนยู แข่งขันเวลา 23.00น.
03/11/2012 นัดที่ 10 แมนยู 2-1 อาร์เซน่อล แข่งขันเวลา 19.45น.
10/11/2012 นัดที่ 11 แอสตัน วิลล่า 2-3 แมนยู แข่งขันเวลา 00.30น.
17/11/2012 นัดที่ 12 นอริช ซิตี้ 1-0 แมนยู แข่งขันเวลา 00.30น.
24/11/2012 นัดที่ 13 แมนยู 3-1 ควีนส์ปาร์ค แข่งขันเวลา 22.00น.
28/11/2012 นัดที่ 14 แมนยู 1-0 เวสต์แฮม แข่งขันเวลา 03.00น.
01/12/2012 นัดที่ 15 เรดดิ้ง 3-4 แมนยู แข่งขันเวลา 00.30น.
09/12/2012 นัดที่ 16 แมนเชสเตอร์ ซิตี้ 2-3 แมนยู แข่งขันเวลา 20.30น.
15/12/2012 นัดที่ 17 แมนยู 3-1 ซันเดอร์แลนด์ แข่งขันเวลา 22.00น.
23/12/2012 นัดที่ 18 สวอนซี ซิตี้ 1-1 แมนยู แข่งขันเวลา 20.30น.
26/12/2012 นัดที่ 19 แมนยู 4-3 นิวคาสเซิ่ล แข่งขันเวลา 22.00น.
29/12/2012 นัดที่ 20 แมนยู 2-0 เวสต์บรอมวิช แข่งขันเวลา 22.00น.
01/01/2013 นัดที่ 21 วีแกน 0-4 แมนยู แข่งขันเวลา 22.00น.
13/01/2013 นัดที่ 22 แมนยู 2-1 ลิเวอร์พูล แข่งขันเวลา 20.30น.
20/01/2013 นัดที่ 23 สเปอร์ส 1-1 แมนยู แข่งขันเวลา 23.00น.
30/01/2013 นัดที่ 24 แมนยู 2-1 เซาแธมป์ตัน แข่งขันเวลา 03.00น.
02/02/2013 นัดที่ 25 ฟูแล่ม 0-1 แมนยู แข่งขันเวลา 00.30น.
10/02/2013 นัดที่ 26 แมนยู - เอฟเวอร์ตัน แข่งขันเวลา 23.00น.
23/02/2013 นัดที่ 27 ควีนส์ปาร์ค - แมนยู แข่งขันเวลา 22.00น.
02/03/2013 นัดที่ 28 แมนยู - นอริช ซิตี้ แข่งขันเวลา 22.00น.
09/03/2013 นัดที่ 29 เวสต์แฮม - แมนยู แข่งขันเวลา 19.45น.
16/03/2013 นัดที่ 30 แมนยู - เรดดิ้ง แข่งขันเวลา 00.30น.
30/03/2013 นัดที่ 31 ซันเดอร์แลนด์ - แมนยู แข่งขันเวลา 19.45น.
--------------------------------------------------- 
06/04/2013 นัดที่ 32 แมนยู - แมนเชสเตอร์ ซิตี้
13/04/2013 นัดที่ 33 สโต๊ค ซิตี้ - แมนยู
20/04/2013 นัดที่ 34 แมนยู - แอสตัน วิลล่า
27/04/2013 นัดที่ 35 อาร์เซน่อล - แมนยู
04/05/2013 นัดที่ 36 แมนยู - เชลซี
12/05/2013 นัดที่ 37 แมนยู - สวอนซี ซิตี้
19/05/2013 นัดที่ 38 เวสต์บรอมวิช - แมนยู